ข้าวซ้อมมือไรซ์ เบอร์รี่ จากภูมิปัญญาสู่แบรนด์"พระพันปี"

            หญิงชราอายุ 70 กว่าปีผู้หนึ่ง เธอได้ขึ้นชื่อว่า หญิงแกร่ง และ Strong ยิ่งกว่า THE FACE ซีซั่นใดๆ  
              คุณแม่ ชู เศษภักดี ชื่อในแฟนเพจ "พระพันปี" หญิงแกร่งแห่งที่ราบสูง จ.ขอนแก่น ท่านเป็นคุณแม่ดีเด่นในใจลูกเสมอมา..
              คุณแม่ ชู เศษภักดี เล่าว่า ตนมีลูกทั้งหมด 3คน  พอลูกชายคนเล็กคลอดออกมา สามีก็ได้เสียชีวิตลง ท่านต้องทนลำบากทำงานตรากตรำเลี้ยงลูกๆมาโดยลำพัง มาโดยตลอด ทั้งอดมื้อ กินมื้อ บางครั้งต้องไปทำงานรับจ้างไกลๆ ต้องนำลูกชายคนเล็กไปฝากไว้ให้หลวงพ่อดูแลแทน..
             สมัยก่อนไม่มีโรงสีข้าวเหมือนทุกวันนี้ การจะได้ข้าวสารมาต้องใช้วิธีซ้อมมือแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่แทบจะไม่รู้จักข้าวซ้อมมือกันแล้ว ท่านจึงมีแนวคิดที่ว่า จะผลิตข้าวซ้อมมือออกมาในแบรนด์ "พระพันปี" เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและเรียนรู้ต่อไป..
           ขั้นตอนการทำข้าวซ้อมมือ แบบภูมิปัญญาชาวบ้านอีสานจะมีทั้งหมด 3 ขั้นตอน คือ..

1.การต่าว
2.การหย่าว
3.การซ้อม

1. การต่าว คือ ขั้นตอนแรกสุด โดยจะนำข้าวเปลือกที่ฝัดเศษหญ้าออกหมดแล้วมาตำแบบหยาบๆ ในครกมือ หรือ ครกกระเดื่อง
     -ขั้นตอนนี้จะไม่ค่อยได้เมล็ดข้าวสารมากนัก จะได้ประมาณ 30%ของเมล็ดข้าวทั้งหมด

2. การหย่าว คือ การตำข้าวใน ขั้นตอนที่2 หลังจากนำเมล็ดข้าวไปฝัดเลือกเอาเมล็ดข้าวสารออกจากขั้นตอน(ต่าว)
      -ขั้นตอนนี้จะได้เมล็ดข้าวสารเยอะที่สุด ประมาณ 60% ของเมล็ดข้าวทั้งหมด

3. การซ้อม คือ การตำข้าวในขั้นตอนที่3 หลังจากนำเมล็ดข้าวไปฝัดเลือกเอาเมล็ดข้าวสารออกจากขั้นตอน(หย่าว)
       -ขั้นตอนนี้จะได้เมล็ดข้าวที่แตกๆหักๆ(ข้าวปลาย) แต่ก็นำไปผสมกับเมล็ดข้าวสารขั้นตอนอื่นๆ เพื่อนำไปหุงได้เหมือนกัน

       กว่าจะได้ข้าวสารออกมาแต่ละเมล็ดต้องใช้ความอดทนมาก ขอเทิดทูญภูมิปัญญาชาวบ้านจริงๆ
            สนใจข้าวซ้อมมือ ไรซ์ เบอร์รี่ พระพันปี
ติดต่อ..
            Facebook/พระพันปี
            Line id: nanonatty
            Tel. 0960028431

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พลโทหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา "หม่อมนุ้ย"

Panflute คืออะไร

ว่าด้วยกำลังพลสำรอง ไม่เว้นแม้กระทั่งเพศที่3 นะตะเอง แอร๊ยย!!