หมอกธุมเกตุ คืออะไร??

คืนวันที่ 13 ตุลาคม 2559
ได้เกิดปรากฎการณ์พิเศษอย่างหนี่ง ไม่นึกว่าจะได้เห็นกับตาตัวเอง
ทำให้เกิดความสงสัย เคยไปค้นหาเพิ่มเติม
ชมคลิปใน  youtube




ธุมเกตุ
[ทุมะเกด] น. ไฟ ดาวหาง ดาวตก สิ่งที่เป็นหมอกเป็นควันเกิดขึ้นในอากาศผิดธรรมดา มีรูปคล้ายธงเป็นต้น. (ป. ส. ธูมเกตุ).

บทปกรณ์ว่าด้วยบาตร ๔ และ ธุม ๒
บาตร ๔ คือ อัสนีบาตร , กลาบาต , คาหบาตร , อุกาบาตร รวม ๔ ประการ ธุม ๒ คือ ธุมเกตุ ธุมเพลิง รวม ๒ ประการ รวมเข้ากันเป็น ๖ ประการ เป็นนิมิตที่เทวดาบันดาลให้เห็นต่างๆด้วยความกรุณาในสัตว์โลก อันจะถึงซึ่งความยิ้มแล ฯ

ผิวแล อสุนียบาต ตกที่โรงวินิจฉัยก็ดี ฤาปีหนึ่งฟ้าผ่า ๓ หนก็ดี ๕ หนก็ดี ถูกผู้คนและสัตว์ทวิบาทจตุบาทล้มตาย ท่านทายว่าร้ายห้ามการยาตรา ให้เร่งทำบุญให้ทาน ฯ

กลาบาต สีแดงดุจสีเพลิงเทียนเป็นช่วงใหญ่ กลมเท่ากับผลมะพร้าวทั้งเปลือก ผิวตกบุรพทิศไปสู่อุดรร้ายนัก ฯ

คาหบาต มักตกเพลาค่ำ มีสีดุจแสงประอาทิตย์เมื่ออัสดงคต ถ้าเป็นปรากฏ ๓ , ๔ ทิศนี้ร้ายนัก ถ้าตกทิศ ๑ , ๒ ทิศ จะเกิดความไข้ ฯ

อุกาบาตร ตกสีแดง ช่วงแลเห็นปรากฏยาว ๓ , ๔ ศอก ศีรษะใหญ่เท่าลูกส้มโอ หางเท่าแสงคบเพลิง ตกแต่บุรพทิศ ร้ายนัก ให้ประหยัดจงดีแล ฯ

ธุมเกตุ ตก ให้มืดคลุ้มไปก็ดี ประดุจหนึ่งควันพลุ่งไปก็ดี แต่ในเวลากลางวันไป ให้ว่า พระภุม สำแดงเหตุ เป็นอันร้ายนัก

ธุมเพลิง ตกสีดุจควันเพลิง ให้เห็นปรากฏเป็นหมู่ ๆ เป็น จอม ๆ ใน ๓ ทิศก็ดี หากบันดาลให้ชนตกใจว่าไฟไหม้ ให้นักปราชญ์พิจารณาดู ผิว่าแท้แล้วจะถึงกาลพินาศให้เร่งเจริญเมตตาภาวนา

หม่อมเจ้าห­ญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรพระยาดำรงราชานุภาพ ได้จำความเล่าไว้ในเรื่อง “วันสวรรคตของรัชกาลที่ ๕”ว่า

“เช้าวันศุกร์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถเสาวภาผ่องศรีเชิ­เสด็จพ่อให้ไปเฝ้าที่หน้าม่าน (ข้างหน้าและข้างในต่อกัน) แล้วตรัสบอกว่า “พระอาการอื่นๆดีหมดทุกอย่าง แต่หม่อมฉันไม่ชอบเรื่องพระบังคนเบา วันนี้ตลอดวันมีข้าว ๑ ช้อนโต๊ะ จึงเชิ­เสด็จท่านมาทูลจะได้คิดแก้ๆไข”เสด็จพ่อตกพระทัยเป็นครั้งแรก รีบทูลลาว่าจะต้องเรียกประชุมหมอ แล้วก็กลับไปทูลเจ้านายที่ห้องแป๊ะเต๋งจัดการเรียกหมอที่ว่าดีในเวลานั้น ทั้งหมดมาประชุมตกลงกัน ถวายยาฉีดถวายสวนทุกอย่างที่จะพึงทำได้ในเวลานั้นแต่ไม่มีผล คงได้พระบังคนเบาราว ๑ ช้อนกาแฟ ซึ่งน้อยลงไปอีก พอถึงเวลาค่ำ หมอก็พร้อมทูลเจ้านายว่า ถ้ามีราชการอันใดที่จะต้องกราบทูลก็ให้กราบทูลเสียในตอนเช้าพรุ่งนี้ เพราะถ้าถึงเย็นจะเข้าโคม่า(ซึม) ที่ประชุมปรึกษาเห็นพร้อมกันว่า ไม่มีเหตุอันใดที่ต้องประชุมกล่าวรบกวน แล้วสมเด็จวังบูรพาภิรมย์ ก็ตรัสสั่งให้เสด็จพ่อไปเชิ­เสด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เข้ามายังพระราชฐานแต่เช้า

รุ่งขึ้นเช้าวันเสาร์ราว ๐๗.๐๐ น.เสด็จพ่อเสด็จไปยังวังสรา­รมย์ตรัสเล่าว่า สมเด็จพระบรมฯยังไม่บรรทมตื่น ทรงพบหมอหลวงเฟื้อ พึ่งบุ­ จึงตรัสบอกให้ตื่นบรรทมเดี๋ยวนั้น แล้วพากันเสด็จไปยังพระราชวังสวนดุสิต ถึงตอนบ่าย ข่าวประชวรมากก็รู้กันไปทั่วแล้ว และแทบทุกคนก็พากันไปฟังพระอาการทั้งฝ่ายหน้าฝ่านใน เวลาราวบ่าย ๔ โมง พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ (ซึ่งทรงเป็นหมอพระองค์หนึ่ง) ขอเข้าไปดูพระอาการ พอถึงพระองค์ท่านก็ยกพระหัตถ์จับที่พระชีพจรที่พระบาท สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงหลับพระเนตรอยู่ ตรัสถามว่า “นั่นหมอหรือ” เป็นคำสุดท้ายแล้ว ก็มิได้ตรัสต่อไปอีกเลย  ค่อยๆทรงบรรทมหลับไปๆ จนหมดพระอัสสาสะ เมื่อเวลา ๒๔.๔๕ น. พระบรมศพมิได้ซูบซีดผิดปกติว่าเวลาทรงพระบรรทมหลับตามปกติแต่ประการใด

กำหนดสรงน้ำพระบรมศพที่พระที่นั่งอัมพรสถานในที่พระบรรทม แล้วเชิ­พระบรมศพลงพระโกศทอง เชิ­เสด็จขึ้นพระยานุมาศเคลื่อนกระบวนจากพระราชวังสวนดุสิตไปสู่พระมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง เวลา ๐๗.๐๐ น.เศษ

เสด็จพ่อทรงสั่งราชการพลาง ทรงพระกรรณแสงพลางอยู่ที่วังตอนเช้าวันอาทิตย์ พวกพี่น้องของข้าพเจ้าเขาก็พากันกลับเข้าวังหมดแทบทุกคน ข้าพเจ้ายังมีไข้เข้าไปช่วยในวังไม่ได้ พอเสด็จพ่อทรงเครื่องเต็มยศให­่เข้าไปสวนดุสิตแล้ว ข้าพเจ้าก็ไปคอยเฝ้าพระบรมศพที่ริมถนนราชดำเนินแถวโรงเรียนนายร้อยทหารบก พวกราษฎรเอาเสื่อไปปูนั่งกันเป็นแถวตลอดสองข้างทาง จะหาหน้าใครที่จะยิ้มก็ไม่มีสักผู้เดียว ทุกคนแต่งดำน้ำตาไหลอย่างตกอก-ตกใจด้วยไม่รู้รส อากาศมือครึ้มมีหมอกขาวลงจัดเกือบถึงหัวคนเดินทั่วไป ผู้ใหญ่­่เขาบอกว่านี่แหละคือ “หมอกธุมเกตุ” (หมอกธุมเกตุนี้ ตามตำราโบราณว่า เป็นหมอกที่มีสีประดุจควันไฟ ดอกไม้เพลิง จะเห็นได้ตั้งแต่เช้าไปจนเที่ยง หรือ ตั้งแต่เที่ยงไปจนบ่ายหนึ่งบ่ายสองโมง ถือว่าเป็นหมอกที่ร้ายนัก นัยว่าเกิดเพราะเกตุสำแดงเหตุให้ปรากฏ) ที่ในตำราเขากล่าวถึง ว่ามักจะมีในเวลาที่มีเหตุใหญ­่ๆเกิดขึ้น ไม่ช้าก็ได้ยินเสียงปี่ในกระบวนเสียงเย็นใสจับใจมาแต่ไกลๆ แล้วได้ยินเสียงกลองรับเป็นจังหวะใกล้เข้ามาในความมืดเงียบสงัด ที่มืดเพราะต้องตัดสายไฟฟ้าบางตอนให้กระบวนผ่านไปได้ และ ที่เงียบเพราะไม่มีใครพูดจากันว่ากระไร ข้าพเจ้าเคยได้ยินเสียงปี่กลองมาแล้ว เคยได้เห็นแห่พระศพเจ้านายมาหลายพระองค์ แต่คราวนี้ตกใจสะดุ้งทั้งตัว เมื่อเห็นพระมหาเศวตฉัตรกั้นมาบนพระบรมโกศสีขาวกับสีทองเป็นสง่า ทำให้รู้ทันทีว่า “พระบรมศพ” แล้วร้องไห้ออกมาโดยไม่ทันรู้ตัว เหลียวไปดูทางอื่น เห็นแต่แสงไฟจากเทียนที่จุดถวายสักการะอยู่ข้างถนนแวมๆ ไปตลอด ในแสงเทียนนั้น มีแต่หน้าเศร้าๆ หรือบิดหน้าอยู่ เราหมอบลงกราบกับพื้นปฐพี พอเงยหน้าก็เห็นทหารยืนถือปืนเอาปลายลงดิน ก้มหน้าลงบนปืนอยู่ข้างหน้าเราเป็นระยะไปตลอด ๒ ข้างถนนนั้น น้ำตาของเขากำลังหยดลงแปะๆ อยู่บนหลังมือของเขาเอง ทหารซึ่งอยู่ในยูนิฟอร์มอันแสดงว่ากล้าหา­ ยังร้องไห้ เพราะเสียดายประมุขอันล้ำเลิศของเขา

เสด็จพ่อตรัสเล่าว่า ได้โทรเลขตามหัวเมืองให้ระวังเหตุการณ์ในตอนเปลี่ยนแผ่นดิน ได้ตอบมาทุกทางว่า ภายใน ๗ วันแต่วันสวรรคตนั้น ไม่มีเหตุการณ์โจรผู้ร้ายเกิดขึ้นเลยสักแห่งเดียวในพระราชอาณาจักร ฉะนั้น จึงจะต้องเข้าใจว่า แม่แต่โจรผู้ร้ายก็ยังเสียใจหรือตกใจ ในการเสด็จสวรรคตของพระบามสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง พระปิยมหาราช”

ในทันทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตพระบรมวงศานุวงศ์ให­่น้อยและข้าราชการบริพารไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดิน ต่างก็ร่ำร้องไห้ตะเบ็งเซ็งแซ่ทั่วพระที่นั่งอัมพรสถาน และ ทั่วพระนครในไม่ช้า ข่าวสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ล่วงรู้ไปทั่วแผ่นดิน จนเกิดความเศร้าโศกไปทั่วพระราชอาณาจักร

คืนวันนั้น ท้องฟ้าที่มือสลัวได้ครึ้มหนัก แล้วก็มีสายฝนตกพรำเหมือนรับรู้ถึงสยามประเทศได้สู­เสีย “สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า พระองค์ผู้เป็นพระปิยมหาราชของชาวสยาม”

ครั้นเมื่อกระบวนเกียรติยศได้แห่ พระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระที่นั่งอัมพรสถาน อั­เชิ­เสด็จกลับสู่ พระบรมมหาราชวัง โดยผ่านถนนราชดำเนินไปอย่างช้าๆนั้น แตรวงทำเพลงพ­าโศกนำขบวนพระบรมศพ ราษฎรทั้งสองข้างถนนมารอเฝ้ากราบพระบรมศพอยู่แน่นขนัด แสงเทียนในมือส่องสว่างเป็นแถวยาวเหยียด เมื่อพระโกศทรงพระบรมศพผ่านมาถึงตอนใด เสียงร้องไห้กระซิกสะอื้นอยู่นั้น ก็พลันเปลี่ยนเป็นเสียงโฮอย่างสุดเสียง เป็นเช่นนี้ไปตลอดทาง แม้แต่ทหารที่ยืนนิ่งระวังเหตุอยู่สองข้างทางก็อดไม่ได้ที่ร้องไห้ และ เมื่อขบวนพระบรมศพผ่านมา เหล่าทหารได้ถวายความเคารพ น้ำตาก็หลั่งไหลอาบแก้ม ทั้งๆที่พยายามอดกลั้นมิให้เสียงสะอื้นออกมาจากปาก

เมื่อพระโกศพระบรมศพ อั­เชิ­ขึ้นประดิษฐานบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทันทีนั้น ได้เกิดพายุอื้ออึง ฝนตกอย่างหนัก สายฟ้าฟาดเปรี้ยงๆ แปลบปลาบอย่างน่ากลัว ราวกับว่าฟ้าจะพิโรธและโศกเศร้าที่กรุงสยามต้องสู­เสีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราช พระองค์ผู้ทรงมีพระราชสมั­­านามจากประชาชนชาวสยามว่า

“สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระปิยมหาราช พระองค์ผู้เป็นสมเด็จพระราชาผู้เป็นที่รักของประชาชนทั้งแผ่นดิน”



%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%ad-2559-10-14-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2-00-35-41

%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%ad-2559-10-14-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2-00-54-13

%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%ad-2559-10-14-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2-00-53-43

ขอเพิ่มเติมเรื่องหมอกธุมเกตุ จากสารคดีน่ารู้ของท่านหญิงพูนพิศมัย ใน คห.๒  ที่ว่ามักจะมีในเวลาที่มีเหตุใหญ่ๆเกิดขึ้น
ได้อ่านหนังสือ “สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ”ของ สมภพ จันทรประภา, รวมสาส์น พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ.๒๕๓๐
ก็ได้มีหมอกธุมเกตุเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน ในเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ก่อนหน้านั้น
น.๒๑  …… พระเจ้าลูกเธอชั้นใหญ่มีพระองค์เจ้าโสมาวดีเป็นต้น  และพระสนมเอกที่หมอบเฝ้านั้นต่างอยู่ในอาการอันสงบทั้งๆ ที่ใจข่อนๆ ไปทั่วทุกตัวคน  เสียงระฆังยามที่หอภูวดลทัศไนย์ย่ำดังก่างๆ เข้ามา  นกตุ๊ดก็ร้องขึ้นตุ๊ดหนึ่ง  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ  เสด็จสู่สวรรคตด้วยความสงบ  มี หมอกธุมเกตุ คลุ้มมัวลอยเข้าไปในพระที่นั่ง  ทำให้ความเย็นที่มีอยู่แล้วเย็นเยือกยิ่งขึ้นกว่าปกติ  ครู่หนึ่งก็จางหายไป
k5942229-207
การเกิดปรากฎการณ์แบบนี้
ขอเชิญนักวิทยาศาสตร์ช่วยอธิบายลักษณะปรากฎการณ์นี้ด้วยเถิด

เกิดในเวลาที่ไม่ควรเกิด ไม่ใช่หน้า หนาว ไม่ใช่ หมอกควัน ไม่มีความชื้น ไม่มีฝน....


ขอบคุณภาพจาก Facebook/ Bigg Sirirojwong








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พลโทหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา "หม่อมนุ้ย"

Panflute คืออะไร

ว่าด้วยกำลังพลสำรอง ไม่เว้นแม้กระทั่งเพศที่3 นะตะเอง แอร๊ยย!!